แบบทดสอบหลังเรียน
เรื่อง คำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย  

ข้อที่ ๑)  เหตุใดจึงมีการยืมคำมาใช้ในภาษาไทย
ก. เพราะมีความสัมพันธ์ทางการค้า การทูต
ข. เพราะในปัจจุบันมนุษย์มีความหลากหลาย
ค. เพราะมีการประชาสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ
ง.  เพราะภาษาต่างประเทศมีมากจึงต้องนำมาใช้ในประเทศไทยบ้าง

ข้อที่ ๒) คำในข้อใดไม่ใช่คำไทยแท้
ก.    มะพร้าว
ข.    มะม่วง
ค.    ตะไคร้
ง.    องุ่น

ข้อที่ ๓) “คุณตามีทรัพย์สินมากมายเพราะท่านใช้ปัญญาพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส”
               ข้อความดังกล่าวมีคำภาษาบาลี และคำภาษาสันสกฤตกี่คำ

ก. คำภาษาบาลี ๓ คำ  คำภาษาสันสกฤต ๑ คำ

ข. คำภาษาบาลี ๑ คำ  คำภาษาสันสกฤต ๒ คำ

ค. คำภาษาบาลี ๒ คำ  คำภาษาสันสกฤต ๒ คำ

ง. คำภาษาบาลี ๒ คำ  คำภาษาสันสกฤต ๓ คำ

ข้อที่ ๔)“อาม่าชอบกินบะหมี่เกี๊ยว เฉาก๊วย และโอเลี้ยง” ชื่ออาหารที่กล่าวถึงมาจากภาษาใด
ก.    ไทยแท้
ข.    เขมร
ค.     ชวา
ง.     จีน
                
              
ข้อที่ ๕)ข้อใดเป็นคำที่มาจากภาษาอังกฤษทุกคำ
ก.   ฮิปโป   ซุป   ไอศกรีม
ข.  เทนนิส   คิว   บุฟเฟต์
ค.  ฟิวส์   เรดาร์   โชเฟอร์
ง.  จับกัง   กอล์ฟ  ลิตร

ข้อที่ ๖) ข้อใดเป็นคำที่มาจากภาษาชวา
ก. สักหลาด
ข. กำมะลอ
ค. ซ่าหริ่ม
ง. กอและ

ข้อที่ ๗) คำใดเป็นคำที่มาจากภาษามลายูทุกคำ
ก. ลองกอง   อิเหนา   ยิหวา
ข. ขันที   เงาะ    ตุนาหงัน
ค. บุหงา   ระเด่น   ซ่าหริ่ม
ง. สตูล    กอและ    สลาม

ข้อที่ ๘) คำในข้อใดเป็นคำที่มาจากภาษาญี่ปุ่น
ก. โก้เก๋
ข. สาเก
ค. ยี่หร่า
ง. เหรียญ

ข้อที่ ๙)  ข้อใดมีคำที่มาจากภาษาจีนทุกคำ
ก. ขิม                    เตียง                      เก้าอี้
ข. สุกียากี้             เฉาก๊วย                ยี่ห้อ
ค. กงสี                 โอเลี้ยง                 ปิ่นโต
ง. จับกัง               สาเก                     กากี
ข้อที่ ๑๐) คำว่า “ โชเฟอร์” เป็นคำที่มาจากภาษาใด

ก. อังกฤษ

ข. โปรตุเกส

ค. เปอร์เซีย

ง. ฝรั่งเศส

ข้อที่ ๑๑) ข้อใดเป็นคำที่มาจากภาษาต่างประเทศทุกคำ
ก. สมัคร กีตาร์
ข. บันได แก้วน้ำ
ค. ทุเรียน มะขาม
ง. เกาเหลา ข้าวเปล่า

ข้อที่ ๑๒) ข้อใดเป็นคำยืมภาษาสันสกฤตทุกคำ
ก.   ศัตรู   พรรษา   รูป
ข.   สถาบัน   อธิษฐาน   อัคนี
ค.   อารักษ์   วิเคราะห์   วัตถุง.   ประโยชน์   กริยา   เมตตา

ข้อที่ ๑๓) ชื่อผลไม้ชนิดใดที่เป็นคำที่มาจากภาษามลายู
ก. ละมุด      พุทรา
ข. เงาะ     มะเฟือง
ค. ทุเรียน   แตงโม
ง. ลางสาด    จำปาดะ

ข้อที่ ๑๔) คำว่า “สลาม” เป็นคำที่มาจกภาษาใด
ก. ชวา
ข. มลายู
ค. อาหรับ
ง. เปอร์เซีย

ข้อที่ ๑๕)  ชื่อกีฬาชนิดใดที่ไม่ได้มาจากภาษาอังกฤษ

ก. กอล์ฟ
ข. เคนโด
ค. เทนนิส
ง. สนุกเกอร์

ข้อที่ ๑๖) ข้อใดถูกต้อง

ก. คาราเต้เป็นชื่อศิลปะการต่อสู้ที่มาจากภาษาอังกฤษ
ข. โพงพางเป็นชื่ออุปกรณ์หาปลาที่มาจากภาษาจีน
ค. กุหลาบเป็นชื่อดอกไม้ที่มาจากภาษาฝรั่งเศส
ง. สุกียากี้เป็นชื่ออาหารที่มาจากภาษาจีน

ข้อที่ ๑๗) คำว่า “อักเสบ” เป็นคำที่มาจากภาษาใด
ก. อาหรับ
ข. เขมร
ค. ไทย
ง. จีน

ข้อที่ ๑๘) “ยูโด” เป็นชื่อศิลปะการป้องกันตัว เป็นคำที่มาจากภาษาใด
ก. โปรตุเกส
ข. ฝรั่งเศส
ค. อังกฤษ
ง. ญี่ปุ่น
ข้อที่ ๑๙)  “กะปิตัน”   เป็นคำที่มาจากภาษาใด

ก. จีน
ข. ไทย
ค. อังกฤษ
ง. ฝรั่งเศส

ข้อที่ ๒๐) “โปโล  รักบี้   เทนนิส   ปิงปอง”  เป็นชื่อกีฬาที่มาจากภาษาใด
ก. โปรตุเกส
ข. ฝรั่งเศส
ค. อังกฤษ
ง. จีน

ข้อที่ ๒๑) ข้อใดเป็นคำที่มาจากภาษาบาลีทุกคำ
ก. ศาล    ฤกษ์   วิญญาณ
ข. บัญญัติ    พิษ    วิกฤต
ค. กติกา    ทัพพี    สมถะ
ง. จักร    เมตตา    ภาษา

ข้อที่ ๒๒) ข้อใดเป็นคำที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤตที่ใช้รูปตรงกันทุกคำ

ก. พยายาม     ปรารถนา     ธรรม
ข. อาทิตย์    ราชินี    ญาติ
ค. บัณฑิต  ทารุณ  ชีวิต
ง. ลัทธิ    ทุกข์      เถระ

ข้อที่ ๒๓)  “ ตรัส  เจริญ   ตำรวจ   ดล ”    เป็นคำที่มาจากภาษาใด

ก. สันสกฤต
ข. เขมร
ค. บาลี
ง. ไทย

ข้อที่ ๒๔)  คำว่า “ ถวาย”  เมื่อแผลงเป็น สระ อำ  จะได้คำใด

ก. ขจาย
ข. ตังวาย
ค. ทำลาย
ง. ประกาย

ข้อที่ ๒๕) ข้อใดแผลงคำได้ถูกต้อง

ก. เกา – กำเดา
ข. ตรง – ดำรง
ค. เสวย –สังวาน
ง. เปรอ – ปรนเปรอ

ข้อที่ ๒๖) คำที่ไทยเรารับมาจากภาษาบาลี-สันสกฤต คู่ใดเทียบคู่ไม่ถูกต้อง

ก. จุฬา-จุฑา
ข. สัจจะ-สัตยะ
ค. ขณะ-กษณะ
ง. นิจจา-นิจจัง

ข้อที่ ๒๗) คำที่มาจากภาษาชวาคำใดที่แปลว่า “ดอกไม้”

ก. บุหรง
ข. บุหงา
ค. บุหลัน
ง. บุรินทร์

ข้อที่ ๒๘) “กอและ” ในภาษามลายู แปลว่าอะไร

ก. ผ้านุ่ง
ข. อาหาร
ค. คำทักทาย
ง. เรือประมง

ข้อที่ ๒๙) ข้อใดเป็นภาษาเปอร์เซียทุกคำ

ก. ลุสา     วินันตู     ตะเบ๊ะ
ข. กุญแจ     สลาตัน    โสร่ง
ค. ยาหยัง     บุหรง     สาหรี
ง. สักหลาด      คาราวาน    ยี่หร่า

ข้อที่ ๓๐) “ฝรั่งคนนั้นดื่มน้ำเต้าหู้ขณะนั่งรถแท็กซี่และอ่านหนังสือเกี่ยวกับกีฬาคาราเต้ เมื่อปวดศรีษะจึง      
                หยิบการบูรมาบรรเทาอาการวิงเวียน” ข้อความดังกล่าวใช้ภาษาต่างประเทศในภาษาไทยกี่ภาษา

ก. ๘ ภาษา
ข. ๗ ภาษา
ค. ๖ ภาษา
ง. ๕ ภาษา