ใบความรู้
เรื่อง คำภาษาบาลี-สันสกฤต

               คำภาษาบาลี-สันสกฤตเป็นภาษาที่ไทยรับมาจากอินเดีย โดยการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและการศึกษา ด้านพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะถ้อยคำที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระไตรปิฎกล้วนแต่เป็นภาษาบาลี  นอกจากนี้การรับอิทธิพลทางวรรณคดีและศาสตร์ต่างๆก็มีทั้งภาษา

      

ข้อสังเกต ภาษาบาลีไม่ใช้ ศ  ษ  แต่ใช้ ส    ภาษาสันสกฤตใช้ ศ  ษ  และ ส
ลักษณะของคำภาษาบาลี-สันสกฤต มีดังนี้
               ๑. สระภาษาบาลี ๘ ตัว คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ
                    สระภาษาสันสกฤต ๑๔ ตัว คือ อะ อา อิ อี อุ อู ฤ ฤา ฦ ฦา เอ ไอ โอ เอา
               ๒. พยัญชนะบาลีมี ๓๒ ตัว ไม่นับนิคหิต
                     พยัญชนะสันสกฤตมี ๓๔ ตัว ไม่นับนิคหิต โดยเพิ่ม ศ ษ นอกนั้นเหมือนบาลี

ลักษณะคำภาษาบาลีในภาษาไทย
               ๑. พยัญชนะวรรคแถวที่ ๑ เป็นตัวสะกด พยัญชนะแถวที่ ๑ หรือ ๒ ในวรรคเดียวกันจะเป็นตัวตาม เช่น สักกะ สัจจะ อัตตา มิจฉา บุปผา วัตถุ จักขุ
               ๒. พยัญชนะวรรคแถวที่ ๓ เป็นตัวสะกด พยัญชนะแถวที่ ๓ หรือ ๔ ในวรรคเดียวกันจะเป็นตัวตาม เช่น อัคคี สามัคคี พยัคฆ์ มัชฌิมา พุทธ ลัทธิ วิชชา
               ๓. พยัญชนะวรรคแถวที่ ๕ เป็นตัวสะกด พยัญชนะตัวใดตัวหนึ่งในวรรคเดียวกันจะเป็นตัวตาม เช่น สัญญา คงคา สังขาร สันติ กัณฑ์ สันธาน สงฆ์ สัณฐาน
               ๔. เศษวรรคสามารถเป็นทั้งตัวสะกดและตัวตามด้วยการซ้ำพยัญชนะเดิม หรือพยัญชนะในกลุ่มเศษวรรคได้ เช่น มัลลิกา วัลลี มัสสุ วัลลภ อัยยิกา ชิวหา วิรุฬหก กัลยา

ลักษณะคำภาษาสันสกฤตในภาษาไทย
          ๑. พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดและตัวตามไม่จำกัดว่าต้องว่าต้องเป็นพยัญชนะวรรคเดียวกัน หากแต่ต้องอยู่ในแถวเดียวกัน กล่าวคือ พยัญชนะวรรคแถวที่ ๑ เป็นตัวสะกด พยัญชนะแถวที่ ๑ หรือ ๒ จะเป็นตัวตาม และพยัญชนะวรรคแถวที่ ๓ เป็นตัวสะกด พยัญชนะแถวที่ ๓ หรือ ๔ จะเป็นตัวตาม เช่น ภักดี อาชญา อุตสาหะ อุโฆษ สัตบุรุษ
               ๒. พยัชนะที่สะกดด้วย ส นิยมตามด้วยพยัญชนะในวรรค ตะ ได้แก่ ต ถ ท ธ น เช่น พัสดุ พิสดาร สถาพร สถาน
               ๓. คำที่ปรากฏพยัญชนะ ศ กับ ษ เช่น ราษฎร ภิกษุ ทักษิณ อักษร ศิวะ ศิลปะ ศิษย์ ไพศาล
               ๔. คำที่ประสมด้วย ไอ เอา ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ เช่น ไมตรี ไวษณพ ไพจิตร ทฤษฎี ฤษี กฤษณา พฤกษา ตฤณ
               ๕. คำที่เขียนด้วย ร หัน หลายคำมาจากภาษาสันสกฤต เช่น ธรรม กรรม ครรภ์ วรรณ พรรค
               6. คำที่มีพยัญชนะประสมบางคำเป็นคำภาษาสันสกฤต เช่น เพชร วิจิตร ศุกร์ อาจารย์ กษัตริย์ บุตร

คำภาษาบาลี สันสกฤตปรากฏคำที่เทียบคู่กันโดยพิจารณาจากพยัญชนะบางตัวที่ใช้คู่กันระหว่างภาษาบาลีกับสันสกฤต เช่น


พยัญชนะ

คำภาษาบาลี

คำภาษาสันสกฤต

ข กับ กษ

ขณะ
ขัย
เขม

กษณะ
กษัย
เกษม

ฬ กับ ฑ

จุฬา
กีฬา
โอฬาร

จุฑา
กรีฑา
โอฑาร

ชช กับ ทย

วิชา(วิชชา)

วิทยา

จจ กับ ตย

สัจจะ
อาทิจจ
นิจจา

สัตยะ
อาทิตย์
นิตยา

ฐ กับ สถ

ฐาปนา
ฐิติ

สถาปนา
สถิติ

ส กับ ศ

สาลา
สีล
สิว

ศาลา
ศีล
ศิว

              
นอกจากนี้ คำภาษาบาลี สันสกฤตบางคำ เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทยปรากฏรูปเดียวกัน


คำภาษาบาลี-สันสกฤต

คำที่ปรากฏในภาษาไทย

คติ
ดารา
ตุล
เทว
ภาค
เลข
สุข
อาหาร

คติ
ดารา
ตุล
เทวา เทพ
ภาค
เลข
สุข
อาหาร