ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
คำภาษาเขมร


ภาษาเขมรเข้าสู่ภาษาไทยเพราะมีความสัมพันธ์ทางด้านการปกครองและถิ่นฐานที่อยู่แต่เดิมดินแดนสุวรรณภูมินี้เป็นที่อยู่ของมอญ ละว้า และเขมร เมื่อไทยอพยพมาสู่ดินแดนนี้จึงต้องอยู่ในความปกครองของขอมหรือเขมร ทำให้ต้องรักษาภาษาและวัฒนธรรมของขอมมาใช้ เพราะเห็นว่าขอมหรือเขมรเจริญกว่า ไทยรับภาษาเขมรมาใช้ในรูปคำราชาศัพท์ และคำที่ใช้ในการประพันธ์

ลักษณะคำภาษาเขมร
            ๑. เป็นคำพยางค์เดียวคล้ายกับคำโดดในภาษาไทย จนทำให้คิดว่าเป็นคำไทย แต่มีที่สังเกตได้ว่าเป็นคำเขมร เพราะต้องแปลความหมายก่อนจึงจะเข้าใจ เช่น แข (พระจันทร์) อวย (ให้) ศก (ผม) เลิก (ยก)
            ๒. สะกดด้วยพยัญชนะ จ ญ ร ล ส
                              จ สะกด เช่น อาจ อำนาจ ตรวจ ตำรวจ สำเร็จ
                              ญ สะกด เช่น ชาญ ชำนาญ เชิญ เจริญ หาญ
                              ร สะกด เช่น อร ควร ขจร
                              ล สะกด เช่น ดล กาล ถวิล ตำบล
                              ส สะกด เช่น ตรัส จรัส
               ๓. ไม่ใช้รูปวรรณยุกต์ ยกเว้นบางคำที่มีรูปวรรณยุกต์เอก เช่น เขม่า เสน่ง
               ๔. เป็นคำควบกล้ำ เช่น ขลาด โขลน ไพร กระบือ โปรด และคำที่ใช้อักษรนำ เช่นเสวย เขนย โตนด
               ๕. เป็นคำที่ขึ้นด้วย กำ คำ จำ ชำ ดำ ตำ ทำ เช่น กำเนิด คำนับ จำหน่าย ชำนาญ ดำรง ตำหนัก
               ๖. เป็นคำที่ขึ้นต้นด้วย บัง บัน บำ เช่น บังเกิด บังคับ บังคม บังอาจ บังควร บันได บันลือ บำเหน็จ
               ๗. มักแผลงคำได้ เช่น
                   แผลง ข เป็น กระ
                              ขจาย-กระจาย                    ขจาย-กระจาย                    ขม่อม-กระหม่อม
                              ขจอก-กระจอก                 ขดาน-กระดาน                  ขโดง-กระโดง
                   แผลง ผ เป็น ประ- บรร
                              ผจง-ประจง,บรรจง          ผจบ-ประจบ,บรรจบ        ผสบ-ประสบ
                              ผสาน-ประสาน                 ลาญ-ผลาญ                        ผทับ-ประทับ
                              ผชุม-ประชุม                      แผก-แผนก                         ผจาน-ประจาน
                              ผกาย-ประกาย                   เผชิญ-ประเชิญ                  เผดิม-ประเดิม
                             

                   แผลงเป็น บัง บำ บัน   


บัง

บำ

บัน

เผอิญ-บังเอิญ
คม-บังคม
ปรุง-บำรุง
คับ-บังคับ
ควร-บังควร

เพ็ญ-บำเพ็ญ
บัด-บำบัด
ปราบ-บำราบ
เปรอ-บำเรอ
ปราศ-บำราศ

ลือ-บันลือ
ดาล-บันดาล
เดิน-บันเดิน
โดย-บันโดย
เดิน-บันเดิน

              
                   แผลงเป็นสระอำ
                              เกตา-กำเดา                        ขลัง-กำลัง                          จง-จำนง
                              แข็ง-กำแหง                       อวย-อำนวย                        อาจ-อำนาจ
                              ขจร-กำจร                           พัก-พำนัก                           เทียบ-ทำเนียบ
                              ทลาย-ทำลาย                      ชาญ-ชำนาญ                      ตรับ-ตำรับ